เครื่อง BiPAP
หลายคนน่าจะรู้จัก Fitbit เพราะชอบออกกำลังกาย หรือชื่นชอบเทคโนโลยีอยู่แล้ว และวันนี้เรามีอัพเดตล่าสุดมาฝากแฟน ๆ Fitbit นะคะ ว่าเทคโนโยลีของ Fitbit กำลังยกระดับไปอีกขั้นนึงแล้ว จากงานวิจัยล่าสุดของ Fitbit ที่ทำ R&D labs เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์นาฬิกาดิจิตอล ตรวจจับความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน
เนื้อหา
1 ถ้า Fitbit ช่วยตรวจหาภาวะหยุดหายใจตอนได้เลย เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ Sleep Test ใช่ไหม?
2 ทำไม Fitbit ยังไม่สามารถระบุได้ว่ารามีภาวะหยุดหายใจตอนนอนแบบฟันธง?
3 ภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea)คือ อะไร?
4 แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเรามีภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea)?
5 ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ (Sleep Apnea) อันตรายไหม?
6 วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอน
7 สรุป Fitbit ช่วยตรวจจับสัญญาณหยุดหายใจตอนนอน ได้จริงหรือไม่?
ถ้า Fitbit ช่วยตรวจหาภาวะหยุดหายใจตอนได้เลย เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ Sleep Test ใช่ไหม?
James Park ผู้ร่วมก่อตั้ง Fitbit บอกว่าเขากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนานวัตกรรม และแน่นอนว่าถ้าใครเคยใช้ Fitbit ก็จะชื่นชอบการบันทึกการนอน กับการเต้นหัวใจ ที่ค่อนข้างแม่นยำ และเชื่อถือได้ นั่นแปลว่า Fitbit ก็เป็นข้อมูลแรก ๆ ที่บอกได้ว่า การนอนของเรา เป็นปกติ หรือผิดปกติยังไง
ที่มา: The Verge
แต่ก็แน่นอนว่า มันคงไม่สามารถมาแทนการทำ Sleep Test ได้ 100% นะคะ เพราะการทำ Sleep Test ต้องติดตามข้อมูลอีกหลายตัว เพื่อประกอบการวินิจฉัย ที่สำหรับ Fitbit ไม่รู้ว่าเรานอนกรนรึเปล่า และขาดออกซิเจนไหม
ทำไม Fitbit ยังไม่สามารถระบุได้ว่ารามีภาวะหยุดหายใจตอนนอนแบบฟันธง?
เพราะว่า ภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea) มีสาเหตุได้หลายอย่าง และมีหลายปัจจัยที่จะต้องตรวจดูค่ะ
ภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea) คือ อะไร?
ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับเป็นอาการของการนอนหลับผิดปกติอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่า Sleep Disorders ซึ่งมีสาเหตุจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน โดยอาจจะเกิดจากการที่ ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อนหย่อนยาน หรือต่อนทอนซิลโต จนมาอุดกั้นทางผ่านของลมหายใจ แล้วทำให้เราหายใจไม่ออก ช่องที่บีบแคบลงจากการอุดกั้น พอเกิดการสั่นสะเทือน มันก็กลายเป็นเสียงกรนที่ดังมาก ๆ ขึ้นมา
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเรามีภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea)?
เบื้องต้นเลย ถ้าเรามีอาการแบบนี้หลายข้อ แปลว่าเรามีโอกาสเสี่ยงต่อการมีภาวะหยุดหายใจตอนนอนนะคะ
• รู้สึกง่วง และเพลียตอนกลางวัน
• นอนเท่าไหร่ ก็ไม่สดชื่น รู้สึกว่านอนไม่พอ
• ประสิทธิภาพความคิด ความจำลดลง
• ลืมง่าย
• ตอนกลางคืนก็หลับ ๆ ตื่น ๆ
• นอนกรนเสียงดัง
• สะดุ้งตื่นกลางดึก
• หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย โดยไม่มีสาเหตุ
• อยู่ดี ๆ ก็ซึมเศร้าได้
• ความต้องการทางเพศลดลง sex เสื่อม
ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ (Sleep Apnea) อันตรายไหม?
ใน 1 ปี มีผู้ป่วยประมาณ 400-500 คน มาหาหมอด้วยอาการนอนหลับไม่สนิท นอนกรน หายใจผิดปกติขณะนอนหลับ ภาวะวูบหลับโดยไม่รู้สาเหตุ และสิ่งที่เราไม่รู้เลย คือว่า ความร้ายแรงของมัน ถึงขั้นที่ทำให้เราเกิดโรคร้ายตามมาได้ มันคือ โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน
วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอน
ก่อนอื่นเราต้องไปหาหมอ ให้ตรวจดูว่าเรามีภาวะนี้แน่ ๆ กับหาหมอให้รู้ว่า เราเป็นในระดับรุนแรงแค่ไหน
1 กรณีเป็นชนิดหยุดหายใจไม่มาก และไม่มีการขาดออกซิเจน อาจจะใช้อุปกรณ์ใส่ในช่องปาก (Oral appliance) ช่วย
2 กรณีที่มีการผิดปกติของช่องทางเดินหายใจ เช่น ลิ้นไก่ยาว หรือหย่อน ต่อมทอนซิลและ/หรือ ต่อมอะดินอยด์โต อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด
3 กรณีที่มีภาวะหยุดหายใจและขาดออกซิเจน อาจพิจารณา ใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) หรือ BiPAP มาช่วย (Bilevel Positive Airway Pressure)
สรุป Fitbit ช่วยตรวจจับสัญญาณหยุดหายใจตอนนอน ได้จริงหรือไม่?
อาจจะช่วยบอกสัญญาณเบื้องต้นได้ ว่าเรามีแนวโน้มจะเป็นหรือไม่เป็น แต่มันก็ไม่สามารถระบุได้เลยว่าเรามีภาวะหยุดหายใจตอนนอนจริง ๆ ทางที่ดีคือ เราควรต้องไปหาหมอ เพื่อดูว่า สาเหตุที่เรานอนกรน แล้วรู้สึกเพลีย ง่วงทั้งวัน อารมณ์เสียบ่อย บางทีก็ซึมเศร้า มันมีที่จากจากภาวะหยุดหายใจตอนนอนใช่หรือไม่ เพราะหากเรามีภาวะนี้ โดยไม่รู้ตัว แล้วยังปล่อยทิ้งไว้ มันจะทำให้ร่างกายเรา เป็นแหล่งสะสมโรคร้ายอย่าง ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันสูง และโรคเบาหวานค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.theverge.com/2017/8/30/16227040/fitbit-sleep-apnea-tracking-ionic-smartwatch-sensors