จากผลการศึกษาของ University of California, San Francisco and a health startup หรือ UCSF Health Lab รายงานว่า Apple Watch สามารถตรวจจับโรคความดันโลหิตสูง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยมีความแม่นยำมากถึง 82-90% ผ่านการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ
เนื้อหา
1 นอนกรน กับภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ (Sleep Apena)
2 แล้วเราจะเชื่อถือข้อมูลภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับได้ไหม?
3 นอนกรนเกิดจากอะไร?
4 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA)
5 อาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
6 การรักษาภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับในปัจจุบัน
7 สรุป Apple Watch ช่วยวินิจฉัยเรื่องความดันสูง กับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ จริงหรือไม่?
นอนกรน กับภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ (Sleep Apena)
ข้อมูลสถิติจาก American Sleep Apnea Association พบว่า คนอเมริกากว่า 80% มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวตอนนอน โดยที่ไม่รู้ตัว และมักจะมีภาวะหยุดหายใจร่วมกับความดันโลหิตสูง
แล้วเราจะเชื่อถือข้อมูลได้ไหม?
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมเราถึงนอนกรน แล้วภาวะหยุดหายใจตอนนอนมันเกิดมาจากอะไร
นอนกรนเกิดจากอะไร?
การนอนกรน เกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องคอแคบลง ซึ่งส่งผลให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง ความแรงของ ลมหายใจที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนเกิดการ สั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีเสียงกรนตามมา
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA)
นอกจากอาการนอนกรนที่ส่งเสียงดังแล้ว ยังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA) ที่อาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย ถ้าเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น จนอากาศผ่านเข้าไปไม่ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นภาวะหยุดหายใจชั่วคราวในที่สุด พอถึงจุด ๆ หนึ่งร่างกายก็จะตอบสนองโดยการตื่นขึ้นมาหายใจ ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า คนที่นอนกรนแล้วมีการสะดุ้งตื่นขึ้นมาแบบนี้ แปลว่าเขากำลังเป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอนร่วมกับการนอนกรนนั่นเองค่ะ
อาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ถ้าเราไม่เชื่อข้อมูลี่ได้จาก Apple Watch หรือไม่อยากไปซื้อมาเพื่อวัดเรื่องนี้โดยตรง รายการที่อยู่ด้านล่างนี้ คือ อาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และควรรีบไปปรึกษาคุณหมอโดยด่วนค่ะ
• อาการตอนกลางคืน เช่น สะดุ้งเฮือก หรือหายใจแรงเหมือนขาดอากาศ หายใจขัด หรือคล้ายสำลักน้ำลาย นอนหลับไม่ต่อเนื่องกระสับกระส่าย
• ส่วนอาการตอนกลางวัน ได้แก่ ง่วงนอนตอนกลางวันจนรบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ตื่นนอนไม่สดชื่นแม้จะนอนพอ ปวดศีรษะ ตอนตื่นนอนขาดสมาธิและความจำแย่ลง
การรักษาในปัจจุบัน
หลังที่ไปหาหมอ และหมอยืนยันว่าเรามีภาวะหยุดหายใจตอนนอน (OSA) แล้ว หมอจะแนะนำให้เราปรับพฤติกรรม โดยการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกลอฮอล์ งดการสูงบุหรี่ งดการกินยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง เพราะว่ายาแก้แพ้จะทำให้เนื้อเยื่อผ่อนคลาย จนหย่อนยานเกินไป แล้วมาปิดทางเดินหายใจค่ะ นอกจากนี้ก็มีการรักษาด้วยเครื่อง CPAP หรือ เครื่อง BiPAP แล้วแต่ว่า เรามีภาวะนี้รุนแรงแค่ไหน ถ้ารุนแรงมาก ๆ แล้วมีโรคปอดร่วมด้วย หมอจะแนะนำให้ใช้ BiPAP ไปเลยค่ะ
สรุป Apple Watch ช่วยวินิจฉัยเรื่องความดันสูง กับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ จริงหรือไม่?
แม้จะมีผลการศึกษาที่พยายามบอกให้เราเชื่อถือข้อมูล แต่นั่นก็ไม่ได้มีส่วนช่วยในการรักษานะคะ เพราะว่าภาวะหยุดหายใจตอนนอน เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ที่ Apple Watch เข้าไปสอดส่องไม่ได้ เช่น เพดานอ่อนหย่อนยาน เป็นต้น ฉะนั้นแล้ว การไปหาหมอ เพื่อตรวจเช็ค และวินิจฉัย ยังคงเป็นเรื่องจำเป็น และต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนค่ะ เพราะถ้าปล่อยภาวะหยุดหายใจตอนนอนทิ้งไว้นาน ๆ มันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน แล้วเราจะเป็นคนหงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เรียกได้ว่าคุณภาพชีวิตแย่ลง แถมอาจจะเสี่ยงเป็นโรคเส้นเลืออดในสมองตีบ และภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Apple Watch, Fitbit can diagnose hypertension and sleep apnea: study
และ หนังสือพิมพ์ M2F – พญ.พรรณทิพา สมุทรสาคร แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก และโรคนอนกรน รพ.ธนบุรี 2