จากสถิติงานวิจัยพบว่าคนที่นอนไม่หลับมีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยครึ่งหนึ่งของคนที่นอนไม่หลับมีสาเหตุมาจากด้านจิตใจและโรคทางจิตเวช ความเครียด วิตกกังวล การปรับตัว โรคซึมเศร้า และอีกครึ่งหนึ่งพบว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติด้านร่างกาย
เนื้อหา
1 มาดูสาเหตุความผิดปกติด้านร่างกาย ที่ทำให้นอนไม่หลับ
2 โรคทางกายที่ทำให้นอนไม่หลับ
3 แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ
4 สรุป ทำไมนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากอะไร
มาดูสาเหตุความผิดปกติด้านร่างกาย ที่ทำให้นอนไม่หลับ
สำหรับความผิดปกติที่พบได้บ่อย คือ ปัญหาการหายใจระหว่างหลับ ที่เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ (Sleep Apnea) นอกจากนี้แล้วคนที่มีปญหานอนไม่หลับอาจจะมีอาการ
• แขน ขา กระตุกตอนนอน
• การใช้ยานอนหลับมากเกินไปหรือการดื่มแอลกอฮอล์
• มีอาการปวดตามร่างกาย เช่น ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
• กระเพาะอาหารมีปัญหา เช่น การไหลย้อนกลับของน้ำในกระเพาะขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้มีอาการแสบบริเวณหลอดอาหารในขณะที่นอนหลับ
ข้อมูลจากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดียังบอกต่อว่า บางคนหลับไป แต่ถ้าตื่นมากลางดึก ก็จะกลับไปหลับอีกทียากมาก โดยสาเหตุที่พบบ่อยมี 2 สาเหตุ คือ
1.โรคซึมเศร้า ซึ่งโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นเพราะสารเคมีบางตัวในสมองทำงานไม่สมดุลกัน
2.เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน
โรคทางกายที่ทำให้นอนไม่หลับ
จากข้อมูล คุณหมอยังบอกต่อว่า โรคทางกายที่ทำให้เรานอนไม่หลับ เกิดขึ้นจาก 2 กลุ่มอาการด้วยกัน คือ
1.การหยุดหายใจในระหว่างหลับ (Sleep Apnea) เป็นการหยุดหายใจเป็นพักๆ ในระหว่างหลับ เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมากและนอนกรนเสียงดัง อาจมีผลต่อการเกิดปัญหาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง หรือหลอดเลือดในสมอง รวมทั้งมีปัญหาต่างๆ ตามมาได้อีกหลายโรค
2.กลุ่มความผิดปกติของระบบประสาท (Narcolepsy) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่จะมีอาการ “เผลอหลับ” ได้อย่างทันทีเป็นพัก ๆ แม้ว่าจะคุยกับเราอยู่ หรือว่านั่งกินข้าวอยู่ นอกจากนี้อาจมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ทรงตัวไม่อยู่ และมีอารมณ์รุนแรงในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจมาก ๆ เป็นต้น
ที่สำคัญเลย ก็คือว่าทั้งสองกลุ่มอาการดังกล่าวต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ
ถ้าเป็นโรคที่สาเหตุมาจากด้านจิตใจ ควรไปหาจิตแพทย์ แต่ถ้าเรามีปัญหาด้านร่างกายชัดเจน อย่าง ง่วงนอนตลอดเวลา ปวดหัวตอนเช้า หลับได้ทั้งวัน อารมณ์เสียแบบไม่มีเหตุผล ตื่นกลางดึกแบบสะดุ้งตื่นแล้วสำลักบ่อย ๆ แบบนี้ ควรรีบไปหาหมอที่มีความเชี่ยญเกี่ยวกับความผิดปกติในการนอนแล้วค่ะ หากว่าเรานอนกรนอยู่แล้ว และมีอาการแบบนี้ร่วมด้วย แสดงว่าเราอาจจะมีภาวะหยุดหายใจตอนนอน หลังจากที่หมอยืนยันว่าเรามีภาวะจริง การรักษาก็มีหลายแบบตั้งแตใช้เครื่อง CPAP เครื่อง BiPAP ไปจนถึงการผ่าตัด
สรุป ทำไมนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัญหานอนไม่หลับเกิดขึ้นได้ 2 แบบ 1 ทางจิตใจ 2 ทางร่างกาย และการนอนไม่หลับแบบที่ 2 จะส่งผลเสียให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เพราะการหยุดหายใจตอนนอน ทำให้ออกซิเจนเข้าไปในร่างกายน้อย ร่างกายเกิดความเครี่ยด ความดันก็สูงขึ้น เหมือนร่างงกายต้องทำงานหนักตลอดเวลา จนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว และคนส่วนใหญ่มักจะมีอาการกรนแล้วหยุดหายใจร่วมด้วย แบบไม่รู้ตัว ทางที่ดี ถ้าเรามีอาการที่คิดว่าเสี่ยงต่อการหยุดหายใจตอนนอน เราควรไปหาหมอ เพื่อให้หมอตรวจดูว่า ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ก่อนที่โรคร้ายจะลุกลามมากไปกว่านี้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (Th)