สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ และเป็นศูนย์รวมที่สั่งการให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ วันนี้เราจะดูกันค่ะว่า ถ้าเซลล์สมองส่วนสั่งการอย่าง Pre-Boetzinger Complex ถูกทำลาย จะเกิดอะไรขึ้น
เนื้อหา
1 การทดลองตัดเซลล์สมองของหนู
2 การทดลองนี้กำลังบอกอะไร?
3 Central Sleep Apnea รุนแรงแค่ไหน?
4 เราจะรู้ได้ยังไงว่าเรามีความเสี่ยง หรือมีอาการหยุดหายใจตอนนอนนี้?
5 วิธีการรักษาโรค Central Sleep Apnea
6 สรุปผลการทดลอง ทำลายเซลล์สมองส่วนบัญชาการ การหายใจของหนู
ภาพที่ 1 Pre-Boetzinger Complex ของหนู
ที่มาของภาพ www.macmillanhighered.com
ภาพที่ 2 Pre-Boetzinger Complex ของคน
ที่มาของภาพ NSF Mathematical Sciences Institutes
การทดลองตัดเซลล์สมองของหนู
จากงานวิจัยของ University of California, Los Angeles ที่เฟลด์แมน และทีมนักวิจัย ทดลองฆ่าเซลล์สมองส่วนที่เรียกว่า Pre-Boetzinger Complex ของหนู ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์บัญชาการ การหายใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในการควบคุมระบบระบบอัตโนมัติของร่างกาย (Autonomic Nervous System หรือ ANS)
ผลที่ได้ก็คือว่า หนูยังหายใจได้ตามปกติตอนตื่น แต่หนูจะหยุดหายใจตอนนอน ในช่วงที่ไม่ได้หลับลึก เมื่อหนูหยุดหายใจตอนนอน ร่างกายของหนูจะพยายามตื่นขึ้นมา ให้ตัวมันเองสามารถหายใจได้อีกครั้ง เลยป็นที่มาที่ทำให้หนู หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน แล้วพอหมอปล่อยอาการนี้ทิ้งไว้นาน ๆ ก็กลับพบว่า อาการหยุดหายใจเริ่มลุกลามเข้ามาในช่วงที่หนูหลับลึกด้วย
และที่แย่ไปกว่านั้น พอปล่อยทิ้งไว้ไปเรื่อย ๆ ก็สังเกตเห็นว่า หนูเกิดอาการหยุดหายใจ แม้ในขณะที่ตื่นอยู่ หรือเรียกได้ว่า อาการลุกลาม ทั้งตอนหลับตอนตื่น
การทดลองนี้กำลังบอกอะไร?
การวิจัยกำลังว่า pre-Boetzinger complex มีโดยปกติแล้ว จะมีเซลล์ประสาทจำนวนมาก ที่เสื่อมสภาพไปตามอายุขัย ซึ่งนักวิจัยคาดว่า สมองจะสามารถสร้างเซลล์นี้ขึ้นมาชดเชยได้ถึง 60% แต่พอเซลล์มันได้รับการสูญเสียมาก ๆ จนเกิดการหยุดหายใจขณะหลับ ตอนนั้นร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเวลาที่เราแก่ตัวลง อาการมันจะเป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เรา ต้องเผชิญกับภาวะ Central Sleep Apnea
Central Sleep Apnea รุนแรงแค่ไหน?
Central Sleep Apnea ในกรณีที่เพิ่งเริ่มเป็น อาจจะมีความน่ากลัวต่อการมีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อย่างเช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดในสมองแตก ตีบ ตีน (Stroke) โรคเบาหวาน และโรคซึมเศร้าเป็นต้น และถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน โดยไม่เคยได้รับการตรวจจากหมอ หรือการรักษาใด ๆ เลย กรณีที่ร้ายแรงที่สุด คือ การหยุดหายใจ จนลาโลกไปจริง ๆ
เราจะรู้ได้ยังไงว่าเรามีความเสี่ยง หรือมีอาการหยุดหายใจตอนนอนนี้?
เบื้องต้นให้เราตอบคำถามเหล่านี้ แล้วดูว่าตัวเองเป็นกี่ข้อ ถ้าเป็นมาก แปลว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นสูงค่ะ
• ตื่นขึ้นมากลางดึก และไม่สามารถหลับต่อได้อีก
• อารมณ์เสียกับคนที่บ้าน เพราะความเหนื่อย
• หลับได้ภายในเวลาแค่ 5 นาที หลังจากที่หัวถึงหมอน
• ตอนกลางวัน ง่วงนอนมากผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่หลับตอนกลางคืนมาหลายชั่วโมงแล้ว
• หงุดง่าย ขี้โมโห ควบคุมอารมณ์ตัวเองยาก
• ป่วยเป็นหวัด หรือไข้หวัดได้ง่าย
• มีอาการสะดุ้งตื่นตอนกลางคืน
• ปวดหัวตอนเช้า
• อยู่ดี ๆ ก็ซึมเศร้า สิ้นหวัง โดยไม่มีสาเหตุ
• โครงหน้าใบหน้าและกราม เล็กผิดปกติ
วิธีการรักษาโรค Central Sleep Apnea
1 ไปหาหมอ เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และควรไปหาหมอที่มีความเชี่ยวชาญจริง ๆ เกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับนะคะ
2 ใช้เครื่อง CPAP หรือ BiPAP ในการรักษา กรณีที่หมอบอกว่า เรามีภาวะหยุดหายใจตอนนอนจริง ๆ ขอเตือนก่อนเลยว่า คนปกติที่ไม่ได้มีภาวะนี้ ถ้าไปซื้อมาใช้เองก็จะเสี่ยงในการเป็น Central Sleep Apnea เหมือนกันค่ะ เพราะสมองมันจะเริ่มแยกไม่ออก อันไหนต้องสั่งให้หายใจ อันไหนไม่ต้อง
3 เข้ารับการผ่าตัด กรณีที่หยุดหายใจเพราะภาวะอุดกั้นจากเนื้อเยื่อที่หย่อยยาน หรือต่อมทอนซิลโต
สรุปผลการทดลอง ทำลายเซลล์สมองส่วนบัญชาการ การหายใจของหนู
เมื่อลองทำลายเซลล์สมอง pre-Boetzinger complex ถูกทำลาย จะทำให้เราหยุดหายใจตอนนอน และเมื่อหยุดหายไปนาน ๆ ขณะหลับ แล้วไม่ได้รับการรักษา อาการก็จะทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ และยิ่งอายุมาก เซลล์สมองก็จะสร้างขึ้นมาทดแทนไม่ทัน จนท้ายที่สุด ก็เกิดการอำลาจากโลกนี้ไป ในขณะที่นอนหลับอยู่นั่นเอง หากใครที่มีอาการเสี่ยงตามที่เขียนไว้ข้างต้น ควรรีบไปหาหมอ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ชีวิตยังมีอะไรดี ๆ รอเราอยู่อีกเยอะเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.macmillanhighered.com/BrainHoney/Resource/6716/digital_first_content/trunk/test/hillis2e/asset/img_ch31/c31_fig14.html