เคยรู้สึกเบื่อตัวเองบ้างไหม กลางคืนก็นอนเพียงพอ ทำไมกลางวันถึงยังรู้สึกง่วง รู้สึกเพลีย เหมือนกับไม่ได้พักผ่อน เคยคิดบ้างไหม ว่าการนอนหลับของเรากำลังเกิดความผิดปกติขึ้น!!
เนื้อหา
1 อะไรบ้างที่สามารถสร้างปัญหาให้การนอนของเรา
2 ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นอน่างไร ?
3 ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อันตรายขนาดไหนกันเชียว
4 แล้วอาการที่แสดงออกมาของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีอะไรบ้าง ?
5 แล้ววิธีแก้ของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับคืออะไร ?
6 แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
7 สรุปแล้ว ทำไมเราถึงง่วงนอนบ่อย ๆ ในเวลากลางวัน ?
จากบทความของคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บอกไว้ว่า การนอนหลับที่ดี เป็นขั้นตอนแรกในการมีชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องขจัด ปัจจัยอะไรก็ตามที่สามารถมีอิทธิพลและสร้างปัญหาให้การนอนของเราให้หมดไป
อะไรบ้างที่สามารถสร้างปัญหาให้การนอนของเรา
มีปัจจัยนานัปการที่สามารถส่งผลต่อการนอนของเรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ก็ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหากับการนอนได้ทั้งสิ้น บทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาสุขภาพ ที่ผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังเผชิญแบบไม่รู้ตัว…
ปัญหาสุขภาพที่กำลังจะพูดถึงนั้น เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการนอนหลับและนำไปสู่ผลกระทบในระยะยาว นั่นก็คือผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาในการหายใจหรือการนอนหลับที่ไม่สนิท เรามักบ่นแค่เพียงว่า ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น หรือง่วงนอนในระหว่างวัน โดยไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั่นเอง
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นอย่างไร ?
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ(Sleep Apnea) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นในระหว่างนอนหลับ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน บางครั้งอาจตีบลงจนอุดกั้นทางเดินหายใจของเราอย่างสมบูรณ์ ในจังหวะนี้ จะพบว่าไม่มีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ปอดได้เลย
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อันตรายขนาดไหนกันเชียว
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีความอันตราย อันตรายทั้งจากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและอันตรายที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เพราะเมื่อเกิดการหยุดหายใจขณะหลับ จะส่งผลให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่สนิท มีอาการสะดุ้งตื่นเป็นช่วง ๆ ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ ส่งผลไปถึงประสิทธิภาพการเรียนหรือการทำงานของผู้ป่วยที่จะทำได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นในระหว่างวัน และยังมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอื่น ๆ หลายโรค รวมถึงกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น
แล้วอาการที่แสดงออกมาของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีอะไรบ้าง ?
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีอาการที่แสดงออกมาหลายประการ อาทิ
– กลางวันง่วงนอนมากแบบหาสาเหตุไม่ได้
– นอนกรนเป็นประจำ
– ปวดศีรษะในตอนเช้า
– สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวนง่าย
– ชอบสะดุ้งตื่นกลางดึก
– นอนกระสับกระส่ายมาก
ถ้าพบว่ามีอาการหลายข้อที่ตัวเราเองเป็นหรือคนใกล้ชิดเป็น ต้องรีบหาวิธีแก้โดยด่วน!
แล้ววิธีแก้ของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับคืออะไร ?
วิธีแก้ที่ดีที่สุดของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับคือ การไปพบแพทย์
อาการหลาย ๆ อย่างจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าเรากำลังเผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือเปล่า
แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- เมื่ออาการมีระดับที่ไม่รุนแรง อาจรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการนอน เช่น การลดน้ำหนัก การฝึกนอนตะแคงแทนการนอนหงาย เป็นต้น
- แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เมื่ออาการมีระดับความรุนแรงปานกลาง อาจมีการใช้เครื่องมือเฉพาะทางเข้ามาช่วย
- แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เมื่อมีอาการรุนแรงหรือวิธีข้างต้นไม่ได้ผล อาจมีการรักาโดยวิธีการผ่าตัด หรือเจาะคอเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ
ทั้งนี้ทั้งนั้น รูปแบบการรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินสาเหตุ ความรุนแรงของอาการ การล้มเหลวจากการใช้วิธีรักษาต่าง ๆ และความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาที่ผ่านมา ในการประกอบการกำหนดรูปแบบการรักษาของผู้ป่วยแต่ละบุคคล
สรุปแล้ว ทำไมเราถึงง่วงนอนบ่อย ๆ ในเวลากลางวัน ?
สาเหตุของการง่วงนอนบ่อย ๆ ในเวลากลางวัน มีสาเหตุมาได้หลากหลายประการ ตัวเราเองจำเป็นที่จะต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อมองหาสิ่งที่ผิดไปจากปกติวิสัยที่ร่างกายเราเป็น เมื่อพบว่าร่างกายเผชิญกับความผิดปกติ ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ จะได้หาสาเหตุของความผิดปกติและดำเนินการรักษาอย่างถูกวิธีกันต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.sleepcenterchula.org/index.php/th/2014-12-23-13-58-44