ภาะหยุดหายใจจากเสียงกรน โรคนี้เกิดจากขณะที่เรานอนหลับ อวัยวะภายในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหย่อนลงมาปิดกั้นช่องทางเดินหายใจที่แคบลง เกิดเป็นเสียงกรน และส่งผลให้เราหายใจเอาอากาศเข้าไปภายในร่างกายได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับ บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นสะดุ้งตื่นขึ้นมาหายใจ เฮือกๆ… และไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่อาจจะเกิดขึ้นหลายๆครั้งตลอดคืน ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการเพลียในเวลากลางวัน บางรายมีอาการขั้นรุนแรงมากถึงขั้นหยุดหายใจขณะนอนหลับ
เนื้อหา
1. เช็คตัวเองกันทำไมง่วงตลอดเวลา
2. เช็คตัวเองขั้นต้นก่อนไปพบแพทย์
3. การรักษาแบบ Sleep Lab
4. การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
5. สถานที่รับการรักษา
6. โรงพยาบาลรามคำแหง เบอร์โทรติดต่อ และแผนที่โรงพยาบาล
เช็คตัวเองกันทำไมง่วงตลอดเวลา
คุณเคยเป็นไหมที่นอนเยอะๆแล้วทำไมยังง่วงอยู่ตลอดทั้งวัน…ถ้าเคยเรามาลองหาสาเหตุกันค่ะว่าเกิดจากอะไร
ถ้าไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไรเรามาลองเช็คตัวเองง่ายๆกันก่อนเลยค่ะว่าคุณมีอาการเหล่านี้รวมด้วยไหม
นอนกรนตอนกลางคืน
สะดุ้งตื่นมาหายใจแรงๆ เหมือนคนขาดอากาศหายใจ
ตอนกลางวันง่วงนอน ทั้งๆที่ตอนกลางคืนก็นอนมาหลายชั่วโมง
หงุดหงิดง่ายกับคนรอบข้าง ไม่มีสมาธิทำงาน
ความจำสั้นลง
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ แม้จะแค่ข้อใดข้อหนึ่ง นั่งหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ภาวะหยุดหายใจแบบอุดกั้นขณะนอนหลับ เรียกว่า OSA (Obstructive Sleep Apnea)
เช็คตัวเองขั้นต้นก่อนไปพบแพทย์
คุณควรจะลองเช็คตัวเองขั้นต้นดูว่าขณะหลับคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ โดยการตั้งวิดีโออัดขณะที่นอนหลับ หรือบันทึกเสียง ว่าเรามีอาการกรน หรือลุกขึ้นมาหายใจแรงๆไหม และลองเช็ครอบตัวคุณด้วยว่าคนรอบตัวคุณมีอาการเหล่านี้ไหม ถ้ามีก็ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้จะรื้อรังและรักษาได้ยากขึ้น
การรักษาแบบ Sleep Lab
การรักษาโรคนี้ จะใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า Sleep Lab เป็นการตรวจวัดสิ่งต่างๆภายในร่างกายขณะที่หลับ เช่นภาวการณ์หายใจ การตรวจปริมาณออกซิเจนในร่างกาย การตรวจคลื่นสมอง คลื่นหัวใจ รวมถึงตรวจกล้ามเนื้อต่างๆขณะนอนหลับว่าปกติดีหรือไม่
การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
แพทย์จะทำการตรวจโดยการติดเครื่องมือต่างๆขณะที่คุณหลับ และอ่านค่าจากเครื่องว่ามีความผิดปกติมากน้อยแค่ไหน คุณแค่เตรียมตัวที่จะมานอนในท่าที่สบายที่สุด และงดอาการ เครื่องดื่มต่างๆที่กระตุ้นการนอนหลับรวมถึงการทำกิจกรรมที่หนักๆหรือผิดไปจากปกติจากทุกวัน
สถานที่รับการรักษา
หากคุณพบว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็น OSA อย่ารอช้าค่ะ ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ หรือขอรับการตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนได้ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า เพราะที่นั่นจะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่อยดูแล และให้การรักษาอย่างเต็มที่
โรงพยาบาลรามคำแหง เบอร์โทรติดต่อ และแผนที่โรงพยาบาล
เลขที่ 99 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
Tel. 1270
ขอขอบคุณที่มาจาก…โรงพยาบาลพระรามเก้า