สำหรับคนที่นอนกรน และเป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอนร่วมด้วย หลายคนน่าจะมองหาซื้อเครื่องทำออกซิเจน ใช่ไหมคะ วันนี้เราลองมาดูคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับกันค่ะว่า การใช้เครื่องทำออซิเจน จะช่วยรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจตอนนอนได้จริงหรือเปล่า
เนื้อหา
1 การใช้เครื่องทำออกซิเจน กับคนที่เป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea)
2 ทำไมออกซิเจนถึงไม่เวิร์ค
3 อันตรายจากการใช้เครื่องทำออกซิเจนกับผู้ป่วย OSA
4 สรุป เครื่องทำออกซิเจน ช่วยลดนอนกรน รักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอนได้จริงหรือไม่
การใช้เครื่องทำออกซิเจน กับคนที่เป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ได้ทำการทดลองศึกษากับคนที่ป่วยเป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอน และได้ลองส่งออกซิเจนผ่านเข้าท่อที่มีชื่อว่า nasal cannula เข้าทางจมูก ในอัตราหลายลิตรต่อนาที เพื่อที่จะดูว่า คนป่วยที่มีระดับออกซิเจนลดลงตอนหยุดหายใจ จะได้รับออกซิเจนที่ส่งผ่านเข้าท่อนี้ได้หรือไม่
ถ้าระดับออกซิเจนอยู่ต่ำกว่า 88 เปอร์เซ็นต์นานเกิน 5 นาทีตอนหลับ แปลว่าคน ๆ นั้น ขาดออกซิเจนในร่างกาย แต่ผลการ
ทดลองที่ออกมา พบว่า ร่างกายของคนที่มีภาวะหยุดหายใจตอนนอน กลับกักเก็บคาร์บอนไดซ์ออกไซด์เอาไว้มาก เพราะ เนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนยุบตัว ทำให้ ปริมาณออกซิเจนที่ส่งผ่าน nasal cannula เข้าไปไม่ถึงปอดนั่
ทำไมออกซิเจนถึงไม่เวิร์ค
การใช้ออกซิเจนกับคนที่ป่วยเป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอน ส่งผลลัพธ์ออกมาได้อย่างหลากหลายมากค่ะ แม้ว่าการวัดปริมาณออกซิเจนตอนนอนจะดี แต่ระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยตอนหลับ นั่นเลยทำให้ไม่สามารถใช้แค่ตัวทำออกซิเจนในการรักษาโรคหยุดหายใจตอนนอนพียงอย่างเดียว และที่น่าห่วง คือ ระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สะสม มันจะส่งผลเสียต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายตามมา
อันตรายจากการใช้เครื่องทำออกซิเจนกับผู้ป่วย OSA
มีงานวิจัยพบว่า การใช้ออกซิเจนในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าคนนั้นเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อย่างเช่น ถุงลมโป่งพอง
การใช้เครื่องทำออกซิเจนอย่างเดียว โดยไม่มีเครื่องที่สร้างแรงดันให้ช่องหรือทางเดินหายใจส่วนบนขยายขึ้น จะยิ่งทำให้ร่างกายสะสมคาร์บอนไดซ์ออกไซด์เพิ่มขึ้น ตามปริมาณออกซิเจนที่ได้รับ นั่นเลยทำให้เราปวดหัวตอนเช้า มึน ๆ และรู้สึกไม่สดชื่นตอนตื่น
สรุป เครื่องทำออกซิเจน ช่วยลดนอนกรน รักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอนได้จริงหรือไม่
จากผลการศึกษา บอกชัดเจนเลยว่าการใช้เครื่องทำออกซิเจนเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคนอนกรน และหยุดหายใจตอนนอน แถมยังไม่ปลอดภัยสำหรับคนที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจแบบรุนแรง เพราะ ยิ่งเพิ่มออกซิเจน ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายรับคาร์บอนไซด์ออกไซด์มาสะสมเพิ่มอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Should Oxygen Therapy Alone Be Used at Home in Sleep Apnea Treatment?
https://www.verywellhealth.com/oxygen-therapy-in-sleep-apnea-3015220