ปัญหาน้องชายไม่แข็งตัว เป็นเรื่องที่ทุกข์ใจสำหรับชายหลาย ๆ ท่าน งานนี้ต้องขอคำปรึกษาจากคุณหมอ อย่าง ดร.โอ แล้วล่ะ เมื่อไม่นานมีนี้มีเคส ชายอายุ 77 ปี เจอปัญหาน้องชายไม่แข็งตัว ทั้ง ๆ ที่เขาออกกำลังกาย แถมพอแข็งตัวได้ ก็ดันหลั่งไวมาก ๆ อีก
เนื้อหา
1 วัยทอง นอนกรนทำให้น้องชายไม่แข็งตัว
2 จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายังละเลย ปล่อยให้นอนกรน น้องชายไม่ค่อยแข็งตัว?
3 แล้วควรกินยาเสริมฮอร์โมนยังไงดีให้ปลดภัย?
4 ถ้าน้องชายไม่แข็งตัว แถมรู้สึกง่วงตอนผิดปกติตอนกลางวัน
5 ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเกิดขึ้นจากอะไร?
6 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ?
7 การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำได้อย่างไรบ้าง?
8 สรุป วัยทอง นอนกรน น้องชายไม่แข็งตัว ออกกำลังกายแล้วก็ไม่ดีขึ้น ต้องทำยังไง ควรกินยาเสริมไหม
วัยทอง นอนกรนทำให้น้องชายไม่แข็งตัว
สำหรับวัยทอง คุณหมอบอกว่า การหลั่งไวในวัย 70 ที่ความแข็งลดลงจนสอดไม่ได้ แถมหลั่งไวแบบนี้ กำลังชี้ชัดว่า “ขาดฮอร์โมน” และชายวัยขาดฮอร์โมน มักจะ “นอนกรน” และมีอาการนอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย ๆ จนฝ่ายหญิงรำคาญ
บางคนเอายุกิน 40 ปี ก็เริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย สมาธิลดลง นอนไม่หลับ และถ้ามากับการนอนกรนด้วย ยิ่งฟ้องได้ชัดเจน ว่าสมรรถภาพทางเพศมันถดถอย แบบนี้ต้องรีบไปตรวจฮอร์โมนชายเทสโทสเตอโรนด่วน !! เพราะว่านี่คือ อาการขาดฮอร์โมนชายแน่นอน
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายังละเลย ปล่อยให้นอนกรน น้องชายไม่ค่อยแข็งตัว?
ดร.โอ บอกว่าละเลย ไม่สนใจ ไม่รับการแก้ไขเรื่องนี้ มันก็หมดท่าแล้ว แถมกระดูกสันหลังกระดูกแขน ขา จะเปราะบาง หักง่าย
แล้วควรกินยาเสริมฮอร์โมนยังไงดีให้ปลดภัย?
ปัจจุบันมีฮอร์โมนชายชนิดฉีด ชนิดเจลทาช่วยเสริมเพิ่มฟื้นคืนฮอร์โมนชายให้แบบง่าย ๆ ช่วยให้เพิ่มระดับฮอร์โมนชายจากระดับ 2-3 ขึ้นเป็น 5-6 ได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว แล้วการแข็งตัวจะฟื้นคืนมา พอฮอร์โมนเพิ่มถึงระดับแล้วก็ไม่ต้องกินยา แต่ให้ใช้การบริหารกล้ามเนื้อเพศแบบ 4/1 เพิ่มความดันโลหิตที่ลำตัวอวัยวะเพศให้สูงขึ้น จนเท่ากับความดันโลหิตของแขน ให้บริหารทุกวัน ตอนอาบน้ำก็ได้ หรือก่อนนอนหลับ หรือก่อนหลับนอนก็ได้ การบริหารนี้ เป็นปรโยชน์มาก ๆ ช่วยให้เกิดความแข็งแบบธรรมชาติได้
ถ้าน้องชายไม่แข็งตัว แถมรู้สึกง่วงตอนผิดปกติตอนกลางวัน
ถ้ามีอาการง่วงนอนผิดปกติตอนกลางวันร่วมด้วย หรือหลับกลางวันจริง ๆ ได้ทีละหลาย ๆ ชั่วโมง อันนี้คืออาการที่อันตรายกว่าที่ิคิด เพราะว่าร่างกายของเรากำลังเผชิญหน้ากับ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” เข้าแล้วค่ะ และนี่ก็เป็นหนึ่งในต้นตอ ที่ทำให้น้องชาย ไม่ยอมแข็งง่าย ๆ สักที เพราะตอนเราหยุดหายใจตอนนอน ออกซิเจนเข้าไปในร่างกายน้อย ร่างกายมันก็เกิดความเครียด จนหลั่งฮอร์โมนอะดีนาลีนขึ้นมา เลยทำให้การฟื้นฟูส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มันไม่ได้พักอย่างเต็มที่ ถ้าใครมีอาการนี้อยู่ รีบไปหาหมอเลยนะคะ เพราะว่า โรคร้ายอื่น ๆ มันชอบแฝงมากับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเกิดขึ้นจากอะไร?
ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ (Sleep Apena) มีสาเหตุเกิดจากการที่อวัยวะที่อยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน หย่อนยาน จนมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง และทางเดินหายใจที่แคบ ก็ทำให้เกิดเสียงกรนที่ดังมาก ๆ แล้วตอนที่ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย ความดันเลือดก็จะพุ่งสูงขึ้น และอาจจะเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ รวมไปถึงภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนมาก คนที่ป่วยขั้นรุนแรงมักจะเป็นโดยที่ไม่รู้ตัว อาการที่แสดงออกชัดเจน คือ การนอนกรน
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ?
ลองดูนะคะว่า เรามีอาการแบบนี้ไหม ถ้ามีอาการแบบที่เขียนไว้ด้านล่างนี้หลายข้อ แปลว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอนค่ะ
• ง่วงนอนตอนกลางวันมาก ผิดปกติ
• หลับได้ทั้งวัน ทั้งคืน นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ
• สมาธิสั้น จำอะไรไม่ค่อยได้ หรือหลง ๆ ลืม ๆ บ่อย
• Sex เสื่อม นกเขาไม่ขัน
• ปวดหัวตอนเช้าเป็นประจำ
• หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห โดยไม่มีสาหตุ
• สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือนอนหลับแบบ หลับ ๆ ตื่น ๆ
การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำได้อย่างไรบ้าง?
การรักษามีหลายแบบ ตั้งแต่การดูแลตัวเองอย่างการออกกำลังกายลดความอ้วน ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ CPAP หรือ เครื่อง BiPAP และสิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ การไปหาหมอเพื่อตรวจดูว่าสาหตุที่แท้จริงของการหยุดหายใจตอนนอนของเราเกิดจากอะไร แล้วเราเป็นในระดับรุนแรงขนาดไหน ถ้าเจอว่าสาเหตุเกิดจากการหย่อนหยานของลิ้น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ แบบมาก ๆ จนปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้อีกแล้ว ก็อาจจะถึงขั้นเข้ารับการผ่าตัด
สรุป วัยทอง นอนกรน น้องชายไม่แข็งตัว ออกกำลังกายแล้วก็ไม่ดีขึ้น ต้องทำยังไง ควรกินยาเสริมไหม
คำตอบคือ ถ้านอนกรน แล้วมีอาการตามที่เขียนมาข้างต้นนี้หลายข้อ ก็แปลว่าเราอาจจะมีภาวะหลุดหายใจขณะหลับ ที่ส่งผลให้ร่างกายเครียด เหนื่อย และไม่สดชื่น จนไปกระทบระบบอื่น ๆ ของร่างกาย และทำให้ sex เสื่อม รวมไปถึงสมองเสื่อมได้ด้วย ทางที่ดีควรไปหาหมอ เพื่อรักษารักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคนี้จะทวีความรุนแรงขึ้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คอลัมน์: เสพสมบ่มิสม หนังสือพิมพ์เดลินิวส์