อยากรู้ว่าประกันจะคุ้มครอง และจ่ายเงินค่ารักษาให้เราไหม ถ้าเรานอนกรน แล้วเป็นโรคหลุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) ด้วย
เนื้อหา
1 มาทำความเข้าใจเคลมของโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA) กันก่อน
2 การรักษาในทางการแพทย์
3 ถ้ามีประวัติการเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ก่อนที่ทำประกัน แล้วหลังจากนั้นเข้าไปผ่าตัดรักษา ประกันจะคุ้มครองไหม?
4 สรุป ประกันครอบคลุม โรคหยุดหายใจขณะหลับไหม
มาทำความเข้าใจเคลมของโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA) กันก่อน
หลายคนมีอาการนอนกรน แล้วก็มีประกันอยู่ ถ้าไปทำการรักษา หรือหาหมอเพื่อตรวจอาการ มันจะแยกออกเป็น 2 ส่วน
1 การทำ Sleep Test (หรือ Polysomnography) เพื่อตรวจเช็ค ประเมินความรุนแรงของโรค
ในส่วนนี้จะ “ไม่ได้” รับความคุ้มครอง เพราะไม่ใช่การรักษาจากอาการเจ็บป่วย ฉะนั้นในส่วนนี้ ต้องจ่ายเงินเอง
2 เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเข้ารักการผ่าตัดอวัยวะต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือเพื่อรักษาโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)
ในส่วนนี้จะ “ได้” รับความคุ้มครอง จากทั้งสัญญาพิเศษเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลรายวัน เพราะว่าเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วย และได้เข้ารักษาตัว ในฐานะผู้ป่วย ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ในระหว่างนี้ ถ้ามีค่าใช้จ่ายในการตรวจ Sleep Test ที่เกิดขึ้นภายใน 30 วัน ก่อนหรือหลัง การเข้าไปผ่าตัดหรือรักษาตัว ก็จะได้รับความคุ้มครอง ค่าวินิจฉัยโรคด้วยรังสีเอ็กซ์ และการตรวจในห้องปฏิบัติการด้วย ตามวงเงินคุ้มครองของประกัน
ถ้ามีประวัติการเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ก่อนที่ทำประกัน แล้วหลังจากนั้นเข้าไปผ่าตัดรักษา ประกันจะคุ้มครองไหม?
ไม่ว่าโรคอะไรก็ตาม ถ้าเรามีประวัติการป่วยก่อนที่จะทำประกัน แล้วมันระบุชัดเจน ตรงนี้บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายเงินให้เราได้ค่ะ หรือพูดง่าย ๆ ว่า ไม่คุ้มครอง เพราะถือว่าเป็นข้อยกเว้นตามสัญญาของโรคที่เป็นก่อนมาทำประกัน
การรักษาในทางการแพทย์
โดยทั่วไปหมอจะใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (Somnoplasty) เพื่อทำให้เนื้อเยื่อบริเวณลำคอทางเดินหายใจหดตัวลง หรืออาจจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser Surgery) ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อในลำคอที่ ขวางทางเดินหายใจออกไป ในกรณีที่ไม่ต้องผ่า จะใช้การรักษาผ่านเครื่อง Nasal CPAP เพื่อช่วยขยายทางเดินหายใจช่วงบน ตอนที่เราหลับอยู่ค่ะ
สรุป ประกันครอบคลุม โรคหยุดหายใจขณะหลับไหม
ประกันครอบคลุม โรคหยุดหายใจขณะหลับ ถ้าเราไม่เคยมีประวัติป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนที่จะไปทำประกันค่ะ ฉะนั้นแล้ว ใครที่คิดว่าตัวเองมีอาการเสี่ยง และยังไม่เป็นโรคนี้ ก็สามารถทำประกันชีวิตเอาไว้ได้เลยนะคะ เพราะถ้าเป็นแล้ว โรคนี้มันทำให้เราป่วยได้ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ มากกว่าคนทั่วไปอีกด้วยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) , Thaiinsurance ข้อมูลการประกันชีวิต ประกันภัย และสุขภาพ, และ นิวร้อยแปด