นอนกรน ไม่ใช่แค่น่ารำคาญ แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นอนกรนเป็นปัญหาใหญ่ต่อสุขภาพ บางรายอาจทำให้ “เสียชีวิต” นอนกรนแก้ไขได้ไม่ใช่เรื่องยาก ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น เป็นภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจตั้งแต่ทางจมูก และบริเวณช่องคอ อาจจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด เพราะในขณะที่เราหลับของคอของเราจะแคบลง เกิดจากกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลิ้นและกล้ามเนื้อบริเวณคอหย่อน ทำให้เพดานอ่อน กับ ลิ้นไก่ เกิดการเสียดสีกันทำให้เกิดการอุดกลั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลงขณะนอนหลับและทำให้สมองมีการตื่นตัวและเกิดการนอนหลับที่ไม่ต่อเนื่อง ศัพท์ทางการแพทย์ของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเรียกว่า Obstructive Sleep Apnea (OSA)
อาการของโรค OSA แบ่งได้ง่ายๆ คือเป็นอาการในตอนกลางคืนและอาการในตอนกลางวัน
อาการในตอนกลางคืนมีความจำเพาะต่อตัวโรคที่มากกว่า ได้แก่
-กรนเสียงดัง
-มีอาการสะดุ้งเฮือกเหมือนขาดอากาศหายใจ
-สำลักน้ำลาย
-หลับไม่ต่อเนื่อง กระสับกระส่าย
อาการในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ
-อาการง่วงนอนในตอนกลางวัน
-ตื่นนอนไม่สดชื่น แม้จะนอนหลายชั่วโมงก็ตาม
-ปวดศีรษะในตอนเช้าหลังตื่นนอน
-มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
-ความจำแย่ลง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคนั้นมีอะไรบ้าง?
-ช่องทางเดินกายใจส่วนต้นแคบ (บริเวณช่องคอ)
-ผนังกั้นจมูกคด
-เยื่อบุจมูกบวมโต จากภูมิแพ้
-ลิ้นไก่ยาว
-เพดานหย่อน
-ลิ้นโต
-ต่อมทอนซิลหรือต่อมอดีนอยด์โต
-โรคอ้วน
-โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
-โรคหัวใจวายเรื้อรัง
-โรคไตวายเรื้อรัง
ทำไมผู้ป่วยโรค OSA จึงควรเข้ารับการรักษา
-โรค OSA มีความสัมพันธ์ต่อโรคของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมอง เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคอัมพฤกษ์ โรคเบาหวาน เป็นต้น
-มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า
-เพิ่มอุบัติเหตุในการทำงานและอุบัติเหตุบนท้องถนน
-รบกวนการนอนของคู่นอนหรือคนรอบข้าง อาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์
มาดูแนวทางการรักษาโรค OSA ในปัจจุบันกันนะคะ
-เริ่มต้นจากการวินิจฉัย ซักประวัติผู้ป่วย
-ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจหู คอ จมูก ออย่างละเอียด
-การตรวจการนอนหลับ เพื่อตรวจดูการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ
-เมื่อได้ข้อมูลมาวินิจฉัยโรคแล้วก็จะวางแผนการรักษาและประเมินผลการรักษา
ทางเลือกในการรักษาโรค OSA มีอยู่ 3 ทางเลือกค่ะ
1.การรักษาเชิงอนุรักษ์หรือ Conservative treatment
-ลดน้ำหนัก
-ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
-การปรับท่านอน เลี่ยงการนอนหงาย นอนหมอนสูง
-เลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดสมองส่วนกลาง เช่นยานอนหลับ หรือยาแก้แพ้
-งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.การรักษาที่ไม่ใช้การผ่าตัด
-การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ต่อเนื่อง
-ใช้อุปกรณ์ในช่องปาก ช่วยขยับขากรรไกร และทำให้บริเวณคอกว้างขึ้น กล้ามเนื้อในช่องคอมีความตึงตัวสูง
3.การผ่าตัด
มีหลายวิธีการขึ้นอยู่กับสาเหตุการอุดกั้นของคนไข้อยู่ที่ตำแหน่งไหน เช่นการผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกคด การผ่าตัดต่อทอนซินและอดีนอยด์ หรือการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ นอกจากนี้มีการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรส่วนบนและล่างไปด้านหน้าและการผ่าตัดรัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักใรผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน
สรุปโรค OSA คืออะไรและการดูแลตัวเองจากโรค OSA ทำอย่างไร?
โรค OSA หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคนี้มีความสำคัญอย่างมากนะคะเนื่องจากส่งผลกระทบสุขภาพต่อผู้ป่วย และการนอนหลับที่ดีนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดี ดังนั้นใครที่มีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้นก็อยากจะให้ไปรับคำปรึกษา เพื่อที่จะตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง โดยแพทย์จะเป็นคนให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกของการรักษา ทั้งข้อดีข้อเสีย รวมถึงข้อจำกัดของการรักษาในแต่ละประเภทค่ะ
ขอขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=oq0mSro-LMM