จากเอกสารอาการนอนกรน(Snoring) และภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ(Obstructive Sleep Apnea) ของ รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน โรงพยาบาลศิริราช บอกว่าการกรนมี 2 ประเภท ซึ่งก็คือการนอนกรนปกติ และการนอนกรนที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย
เนื้อหา
1 นอนกรน ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป
2 สัญญาณเตือนจากการนอนกรน
3 จะสังเกตภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไร?
4 การหยุดหายใจ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
5 รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างไร
6 แล้วถ้ามีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะทำอย่างไร?
7 ภาวะแทรกซ้อนของการหยุดหายใจขณะหลับ
8 สรุป นอนกรน เสี่ยงโรคร้าย จริงหรือไม่?
นอนกรน ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป
หลายๆคนจะคิดว่าการนอนกรนเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่มีผลต่อร่างกาย แต่การนอนกรน จะสามารถทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสมองและหัวใจ และยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่นภาวะซึมเศร้า และน้ำหนักเพิ่ม
สัญญาณเตือนจากการนอนกรน
ถ้าเรากรนเสียงดังจนรบกวนการนอนของตนเองและคนที่นอนข้างๆ มีการตื่นกลางดึกเพราะเกิด อาการหายใจไม่ออกหรือสำลัก มีอาการง่วงนอนในระหว่างทำกิจกรรมระหว่างวัน
จะสังเกตภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไร?
เราสามารถสังเกตตัวเองหรือให้คนที่นอนข้างๆสังเกตว่ามีอาการเบื้องต้นแบบนี้หรือไม่ ถ้ามี คุณอาจจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
• รู้สึกว่านอนหลับไม่เต็มอิ่ม เหมือนไม่ได้นอนมาทั้งคืน
• มีอาการง่วงนอนในเวลาทำงานกลางวัน จนไม่สามารถทำงานต่อได้
• นอนหลับไม่ราบรื่น ฝันร้ายหรือละเมอขณะหลับ
• หายใจไม่สะดวกขณะนอนหลับ
• หายใจแรงเหมือนขาดอากาศหลังจากหยุดหายใจ
• มีการทำงานหรือเรียนได้แย่ลง
การหยุดหายใจ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
การหยุดหายใจมีอาการเริ่มมาจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เราต้องหายใจเข้ามากขึ้น แล้วเกิดการขาดจังหวะการหายใจได้บ่อยและนานกว่าคนปกติ ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ร่างกายจึงปลุกผู้ป่วยขึ้นมาหายใจใหม่ วนไปแบบนี้เรื่อยๆ เลยนอนหลับได้ไม่เต็มที่
แล้วถ้ามีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะทำอย่างไร?
ต้องไปพบหมอเพื่อที่จะทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ยิ่งพบไวเท่าไร ยิ่งสามารถลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ค่ะ
รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างไร
1.อาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการงดเหล้า ลดน้ำหนัก เปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคง และเลิกสูบบุหรี่
2.ใช้เครื่องมือ mouthpiece เพื่อไม่ให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ หรือ CPAP ที่เป็นหน้ากากที่ทำให้ทางเดินหายใจไม่อุดตัน
3.ผ่าตัด แต่ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ค่ะ
ภาวะแทรกซ้อนของการหยุดหายใจขณะหลับ
การหยุดหายใจขณะหลับอาจทำให้เซลล์ในสมองตาย เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและหัวใจล้มเหลวได้ง่าย และอาจมีอันตรายถึงตายได้
สรุป นอนกรน เสี่ยงโรคร้าย จริงหรือไม่?
สรุป การนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป เพราะมีการส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงาน และ อันตรายต่างๆ แถมยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตเราได้ เราจึงควรสังเกตตัวเอง ไม่ให้โรคร้ายชนิดนี้มาทำลายชีวิตเราค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=332
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/49/SleepApnea-ง่วง-นอนกรน-นอนไม่อิ่ม
เนื้อหาเพิ่มเติม ที่น่าสนใจ
- https://www thaiosa com/เกี่ยวกับ/cpap-bmc-ดีไหม/
- https://www thaiosa com/เกี่ยวกับ/cpap-ของเยอรมัน/
- https://www thaiosa com/เกี่ยวกับ/ให้-เช่า-เครื่อง-bipap/
- https://www thaiosa com/เกี่ยวกับ/ซ่อมเครื่อง-cpap/
- https://www thaiosa com/เกี่ยวกับ/yuwell-cpap-ดีไหม/
- https://www thaiosa com/เกี่ยวกับ/ซื้อ-cpap-ต่างประเทศ/
- เช่าเครื่อง cpap