รู้หรือไม่เสียงกรนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ ที่จะมองข้ามอีกต่อไป เพราะเสียงกรน ป็นบ่อเกิดของปัญหาด้านสุขภาพที่จะตามมาในอนาคต ก่อนที่จะไปรักษาภาวะนอนกรนหยุดหายใจตอนนอน และทำ Sleep Test โรงพยาบาลรามา เราลองมาดูกันค่ะว่า ต้องทำอย่างไร และควรไปหาหมอหรือไม่
เนื้อหา
1. อาการของโรค OSA
2. ตรวจเช็คอาการก่อนทำ Sleep Lab
3. ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
4. ขั้นตอนการทำ Sleep Lab
5. ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทร แผนที่
6. สรุปภาวะนอนกรน
อาการของโรค OSA
อาการนอนกรนเป็นความผิดปกติของการหายใจขณะนอนหลับ เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เรียกว่า OSA (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งคนที่นอนกรนจะเกิดอากรต่างๆ เหล่านี้ตามมา
● มีอาการสะดุ้งตื่นบ่อยๆตอนกลางคืน ทำให้ร่างกายเกิดการเหนื่อยล้า
● มีอาการหายใจแรงๆขณะที่สะดุ้งตื่น เหมือนคนกำลังจะขาดอากาศหายใจ
● ตอนกลางวันจะเหนื่อยง่าย ง่วงนอนตลอดเวลา
● มีความดันโลหิตสูง การทำงานของร่างกายลดลง
● เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ง่ายกว่าคนปกติ
ตรวจเช็คอาการก่อนทำ Sleep Lab
แล้วคุณล่ะเป็นคนที่นอนกรนหรือไม่?….คุณเคยลองเช็คตัวเองหรือไม่ว่าเป็นคนที่นอนกรนหรือมีอาการต่างๆที่เข้าข่ายตามที่กล่าวมาหรือเปล่า เราลองมาเช็คตัวเองขั้นแรกง่ายๆกันค่ะ โดยการสะกิดถามคนข้างๆว่าเรานอนกรนหรือเปล่า หรือไม่ถ้าคุณนอนคนเดียว คุณก็ลองตั้งกล้องวีดีโอ หรืออัดเสียงขณะที่คุณหลับว่าคุณนอนกรนหรือไม่ ถ้าใช่ คุณควรจะรีบหาเวลาว่างไปหาแพทย์เลยคะ
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
การไปปรึกษาแพทย์ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แค่เราต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยการหลีกเลี่ยง อาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆที่จะไปกระตุ้นการนอนหลับ เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ต่างๆ รวมถึงการทำกิจกรรมที่หนักเกิดปกติที่จะไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้นอนในภาวะที่ปกติที่สุด
ขั้นตอนการทำ Sleep Lab
ทางแพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล 1 คืน และทำการตรวจโดยวิธี Sleep Lab คือให้ผู้ป่วยนอนธรรมดาปกติ ทางแพทย์ก็จะติดเครื่องมือตรวจวัดต่างๆตามร่างกายเพื่อตรวจวัด ระบบทางเดินหายใจขณะนอนหลับ ตรวจวัดออกซิเจนที่เข้าไปในสมอง ตรวจคลื่นหมองและคลื่นหัวใจว่าทำงานเป็นปกติไหม ว่ามีภาวะหยุดหายใจตอนนอนไหม
สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่
สถานที่ : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถ พระราม 6 แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทร : 02-201-1000
แผนที่โรงพยาบาลรามา
สรุปภาวะนอนกรน
อาการนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่ควรมองข้าม หากใครมีภาวะเสี่ยงหรือ มีอาการต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถติดต่อของรับคำแนะนำและรับการรักษา สอบถามข้อมูลต่างๆได้โดยตรงจากโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนินๆ ไม่ให้ทวีความรุนแรง จนเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับ (OSA) จนเกิดผลร้ายตามมา และส่งผลให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ง่ายกว่าคนปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลรามาธิบดี